วันพฤหัสบดีที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

ข่าวการกระทำผิด พรบ.คอมพิวเตอร์



รวบหนุ่มแสบหลอกเจ้าของรถที่ถูกโจรกรรมโอนเงินเข้าบัญชี เพื่อไถ่รถคืน สารภาพจะค้นหาข้อมูลรถหาย และหมายเลขโทรศัพท์เจ้าของรถผ่านเว็บกูเกิล เมื่อรู้เบอร์และลักษณะรถจะโทรโน้มน้าวจนเหยื่อหลงเชื่อโอนเงินให้ 6 หมื่น ถึง 1.5 แสนบาท เมื่อได้เงินจะปิดมือถือหนีทันที ขณะแถลงข่าวมีลูกทีม ปชป.สูญ 7 หมื่น มาชี้ตัวผู้ต้องหาเหตุถูกหลอกด้วย
สรุปข่าว
คนร้ายรายนี้มีพฤติการณ์การทำผิดโดยติดตามข่าวสารรถหายจากทางสื่อทีวีว่ามีรถหายที่ไหนบ้างและจะค้นหาข้อมูลรถหายและหมายเลขโทรศัพท์เจ้าของรถที่แจ้งหายที่ลงประกาศไว้ในอินเทอร์เน็ต โดยค้นหาในเว็บไซต์กูเกิล ระบุคำว่า รถหายก็จะปรากฏชื่อเบอร์โทรศัพท์เจ้าของรถและลักษณะของรถอย่างละเอียด จากนั้นผู้ต้องหาจะโทรศัพท์เข้าไปหาผู้เสียหายแต่ละรายโดยบอกว่าตอนนี้รถที่หายไปนั้นอยู่กับตนเองแล้ว มีคนนำมาจำนำไว้ พร้อมบอกรายละเอียดของรถได้อย่างถูกต้อง หากเจ้าของรถอยากได้รถคืนก็ให้โอนเงินเข้าบัญชีจำนวน 60,000-150,000 บาท ซึ่งแล้วแต่กรณี โดยยืนยันจะนำรถไปคืนไว้ตามจุดที่มีการนัดหมายกัน โดยมีการพูดโน้มน้าวให้โอนเงินเข้าบัญชีของคนร้ายก่อน มิฉะนั้นจะไม่คืนรถให้ ซึ่งมีผู้เสียหายหลายรายหลงเชื่อโอนเงินให้ไปก่อน เมื่อได้เงินเรียบร้อยแล้วก็จะปิดโทรศัพท์มือถือทันที กว่าที่เหยื่อจะรู้ตัวว่าถูกหลอกก็สายเกินไปแล้ว
ที่มา : http://www.thaiday.com/Crime/ViewNews.aspx?NewsID=9540000070072
พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทําความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. ๒๕๕๐
หมวด ๑ ความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์
มาตรา ๕ ผู้ใดเข้าถึงโดยมิชอบซึ่งระบบคอมพิวเตอร์ที่มีมาตรการป้องกันการเข้าถึงโดยเฉพาะ และมาตรการนั้นมิได้มีไว้สําหรับตน ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ
มาตรา ๖ ผู้ใดล่วงรู้มาตรการป้องกันการเข้าถึงระบบคอมพิวเตอร์ที่ผู้อื่นจัดทําขึ้นเป็นการเฉพาะ ถ้านํามาตรการดังกล่าวไปเปิดเผยโดยมิชอบในประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่น ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ
มาตรา ๗ ผู้ใดเข้าถึงโดยมิชอบซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่มีมาตรการป้องกันการเข้าถึงโดยเฉพาะ และมาตรการนั้นมิได้มีไว้สําหรับตน ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินสี่หมื่นบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ
มาตรา ๘ ผู้ใดกระทําด้วยประการใดโดยมิชอบด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์เพื่อดักรับไว้ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นที่อยู่ระหว่างการส่งในระบบคอมพิวเตอร์ และข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้น มิได้มีไว้เพื่อประโยชน์สาธารณะหรือเพื่อให้บุคคลทั่วไปใช้ประโยชน์ได้ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกิน สามปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ
มาตรา ๙ ผู้ใดทําให้เสียหาย ทําลาย แก้ไข เปลี่ยนแปลง หรือเพิ่มเติมไม่ว่าทั้งหมด หรือบางส่วน ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นโดยมิชอบ ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกิน หนึ่งแสนบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ
ความคิดเห็น
จากข้อมูลข้างต้น ทำให้ทราบว่าอินเตอร์เน็ตเป็นเครื่องมือที่ช่วยในการตกเป็นเหยื่อของผู้ที่ไม่ประสงค์ดี ที่จะหาโอกาสหรือช่องทางในการหลอกหรือการโจรกรรมดังกล่าวขึ้น การที่เราได้ให้ข้อมูลรถหายและหมายเลขโทรศัพท์เจ้าของรถที่คิดว่าจะเป็นประโยชน์ในการติดตามและค้นหารถที่หายไปกลับคืนมา ในทางตรงกันข้าม มันกลับยิ่งทำให้เราตกเป็นเหยื่อโดยไม่รู้ตัว นอกจากจะไม่ได้รถกลับคืนมา แถมยังต้องเสียค่าโง่ไห้กับบุคคลที่ไม่หวังดีอีกด้วย

วิธีแก้ไขปัญหา
ดังนั้น เราจึงต้องพิจารณาให้รอบคอบ อย่าหลงกล หรือหลงเชื่อ อีกทั้งในปัจจุบันก็เห็นเป็นข่าวกันอยู่เสมอ ภัยจากการหลอกลวง ออนไลน์ หรือการทำฟิชชิ่ง และฟาร์มมิ่ง ถือเป็นเรื่องที่ต้องหันมาใส่ใจ นอกจากการป้องกันไวรัส หรือมัลแวร์ และการเจาะระบบของแฮกเกอร์ เพราะถือเป็นเรื่องที่เข้ามาใกล้ตัวผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตทุกคนมากที่สุด  จึงเป็นเรื่องจำเป็นที่เหตุผลที่ต้องมีความรู้ด้านความปลอดภัยทางคอมพิวเตอร์ด้วย เพราะเรื่องนี้ไม่ได้มองเห็นด้วยตา ไม่เหมือนการเฝ้าบ้านป้องกันขโมย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น